MUSIC HISTORY


ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูลจึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี โดยดนตรีสมัยดึกดำบรรพ์มีหน้าที่ 2 อย่างที่สำคัญๆนั่นก็คือ

          1 ก่อให้เกิดความตื่นเต้น เร้าใจ
          2 ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ความสุข



ภาพ ตัวอย่างโน้ตเพลงโบราณ


มนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีรูปทรงลักษณะต่างๆ

สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี และเครื่องดีดหรือเครื่องเคาะ เช่นไวโอลิน ฟลุต กลองชุด กีตาร์ ฯลฯโดยพบเครื่องดนตรีสากลได้ในวงดนตรีสากลประเภทต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

สมัยของการรู้จักใช้อักษรหรือสัญลักษณ์อื่นๆ  เพึ่งจะมีปรากฏและเริ่มนิยมใช้กันในสมัยเริ่มต้นของยุค  Middle  age  คือระหว่างศตวรรษที่ 5-6   และการบันทึกมีเพียงเครื่องหมายแสดงเพียงระดับของเสียง  และจังหวะ ( Pitch and  time)  ดนตรี เกิดขึ้นมาในโลกพร้อมๆกับมนุษย์เรานั่นเอง ในยุคแรกๆมนุษย์อาศัยอยู่ในป่าดง  ในถ้ำ   ในโพรงไม้   แต่ก็รู้จักการร้องรำทำเพลงตามธรรมชาติ   เช่นรู้จักปรบมือ  เคาะหิน  เคาะไม้  เป่าปาก  เป่าเขา  และเปล่งเสียงร้องตามเรื่อง  การร้องรำทำเพลงไปเพื่ออ้อนวอนพระเจ้าเพื่อช่วยให้ตนพ้นภัย

ในระยะแรก  ดนตรีมีเพียงเสียงเดียวและแนวเดียวเท่านั้นเรียกว่า  Melody ไม่มีการประสานเสียง  จนถึงศตวรรษที่ 12  มนุษย์เราเริ่มรู้จักการใช้เสียงต่างๆมาประสานกันอย่างง่ายๆ จนเกิดเป็นดนตรีหลายเสียงขึ้นมา


ยุคสมัยดนตรีตะวันตก



การแบ่งยุคต่างๆ นี้เกิดขึ้นเหมือนกับการแบ่งยุคของศิลปะในยุคต่างๆ   บางยุคอาจถูกแบ่งย่อยออกเป็นช่วงต้น  กลางหรือปลายได้อีก การแบ่งยุคของดนตรีก็เช่นกัน นิยมแบ่งตามลำดับเวลา   แม้ว่าการแบ่งยุคสมัยเหล่านี้ จะทำขึ้นเพื่อความสะดวกในการลำดับเหตุการณ์และพัฒนาการต่างๆ  แต่ต้องเข้าใจว่า   การเปลี่ยนจากยุคหนึ่งไปสู่ยุคหนึ่งนั้นมิได้เกิดอย่างทันทีทันใด  แต่ต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป การเข้าสู่ยุคใหม่ก็ไม่ได้แปลว่าสิ่งที่เกิดขึนในยุคเก่านั้นสูญหายไปทันทีทันใด แต่จะเป็นการค่อยๆหมดความนิยมลงไปและเสื่อมหายไปในที่สุด

 จากวิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกที่เกิดขึ้น    โดยการค้นคว้าของนักดนตรีวิทยานั้น    ประวัติศาสตร์ดนตรีตะวันตกสามารถแบ่งได้เป็น ยุคใหญ่ ดังนี้ (*ปีคริส์ตศักราชอาจจะไม่เหมือนกันในตำราแต่ละเล่ม)

  •   ยุคกลาง(  Middle Ages หรือ Middle Period หรือ Mediaeval Period ประมาณ ค.. 850-1450)
  •   ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (  Renaissance Period ; .. 1450 -1600)
  •   ยุคบาโรก ( Baroque Period ; .. 1600 -1750)
  •   ยุคคลาสสิค ( Classic Period ; .. 1750 -1825)
  •   ยุคโรแมนติค ( Romantic Period ; .. 1825 -1900)
  •   ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค(Impressionistic Period ; .. 1850 - 1930)
  •   ยุคศตวรรษที่ 20 ( Twentieth Century ; .. 1930 เป็นต้นมา)


1. ยุคกลาง (Middle Ages)
ดนตรีในยุคนี้เป็น vocal polyphony คือ เป็นเพลงร้องโดยมีแนวทำนองหลายแนวสอดประสานกัน    ซึ่งพัฒนามาจากเพลงสวด (Chant) และเป็นเพลงแบบมีทำนองเดียว  (Monophony)  ในระยะแรกเป็นดนตรีที่ไม่มีอัตราจังหวะ (Non-metrical) ในระยะต่อมาใช้อัตราจังหวะ ¾ ต่อมาในศตวรรษที่ 14 มักใช้อัตราจังหวะ 2/4  เพลงร้องพบได้ทั่วไป    และเป็นที่นิยมมากกว่าเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี   รูปแบบของเพลงเป็นแบบล้อทำนอง (Canon) นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ มาโซท์และแลนดินี 





ตัวอย่างโน้ตเพลง 2 แนว

ในปลายยุคได้มีการเล่นดนตรีนอกวงการศาสนาบ้าง โดยจะมีเป็นกลุ่มนักดนตรีเร่ร่อนไปในสถานที่ต่างๆเปิดการแสดงดนตรีประกอบการเล่านิทาน เล่าเรื่องการต่อสู้ของนักรบผู้กล้า เล่นดนตรีประกอบการเล่นมายากลบ้าง และแสดงการเต้นระบำต่างๆ โดยทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อความบันเทิง




ภาพ การเล่นดนตรีของกลุ่มต่างๆ


2. ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance Period)
การสอดประสาน(Polyphony) ยังเป็นลักษณะของเพลงในยุคนี้โดยมีการล้อกันของแนวทำนองเดียวกัน (Imitative style)ลักษณะบันไดเสียงเป็นแบบโหมด(Modes)  ยังไม่นิยมแบบบันไดเสียง(Scales) ลักษณะของจังหวะมีทั้งเพลงแบบมีอัตราจังหวะและไม่มีอัตราจังหวะ นักดนตรีที่ควรรู้จักคือ จอสกิน-เดอส์  เพรซ์  ปาเลสตรินา  และเบิร์ด เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทในยุคนี้ เครื่องดนตรีที่นำมาใช้เล่นคือ ลูท ออร์แกนลม เวอร์จินัล ขลุ่ยเรคอเดอร์ องค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของดนตรียุคนี้ที่ถูกนำมาใช้คือ ความดัง-เบา ของเสียงดนตรี (Dynamic)



ภาพ การเล่นดนตรีในสมัยเรเนซองส์ (ลูท และ ขลุ่ยเรคอเดอร์)


3. ยุคบาโรค (Baroque Period)
ช่วงต้นยุคมีการใช้ลักษณะการใส่เสียงประสาน(Homophony) เริ่มนิยมการใช้เสียงเมเจอร์และไมเนอร์แทนการใช้โหมดต่างๆ การประสานเสียงมีหลักเกณฑ์เป็นระบบ  บทเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีเป็นที่นิยมมากขึ้น   บทเพลงร้องยังคงมีอยู่และเป็นทีนิยมเช่นกัน นิยมการนำวงดนตรีเล่นผสมกับการเล่นเดี่ยวของกลุ่ม  เครื่องดนตรี 2-3 ชิ้น(Concerto grossoนักดนตรีที่ควรรู้จัก คือ มอนเมแวร์ดี  คอเรลลี วิวัลดี  บาค ฮันเดล ลักษณะสำคัญ ของดนตรีในสมัยนี้ก็คือการทำให้เกิด "ความตัดกัน" เช่น ในเรื่อง ความเร็ว-ความช้า, ความดัง-ความค่อย เป็นต้น และในสมัยบาโรคนี้มีการเกิดการบันทึกตัวโน้ตต่างๆที่ได้รับการพัฒนามาจนถึงปัจจุบัน เช่น การใช้บรรทัด 5 เส้น, กุญแจซอล, กุญแจฟา, กุญแจอัลโต และกุญแจเทเนอร์ 







4. ยุคคลาสสิค (Classical Period)
เป็นยุคที่ดนตรีมีกฎเกณฑ์แบบแผนอย่างมาก  การใช้บันไดเสียงเมเจอร์และไมเนอร์เป็นหลักในการประพันธ์เพลง  ลักษณะของบทเพลงมีความสวยงามมีแบบแผน  บริสุทธิ์  มีการใช้ลักษณะของเสียงเกี่ยวกับความดังค่อยเป็นสำคัญ  ลีลาของเพลงอยู่ในขอบเขตที่นักประพันธ์ในยุคนี้ยอมรับกัน  ไม่มีการแสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้ประพันธ์ไว้ในบทเพลงอย่างเด่นชัด   การผสมวงดนตรีพัฒนามากขึ้น  นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ กลุค  ไฮเดิน  โมซาร์ท  และเบโธเฟน เพลงที่นิยมแต่งก็พัฒนามาจากสมัยบาโรคแต่ได้มีการปรับปรุงให้มีความยิ่งใหญ่ขึ้น รวมทั้งเพลงประเภทอุปรากร คอนแชร์โต โซนาดา และเพลงซิมโฟนี่ ซึ่งต่อมานินมแต่งมากที่สุด


ภาพ เบโธเฟ่น อัฉริยะทางดนตรี



เพลง ซิมโฟนี่ หมายเลข9
ซึ่งเป็นเพลงสุดท้ายที่เบโธเฟ่นแต่งได้เสร็จสิ้นสมบูรณ์



5. ยุคโรแมนติค (Romantic Period)
ลักษณะเด่นของดนตรีในยุคนี้ คือ เป็นดนตรีที่แสดงความรู้สึกของนักประพันธ์เพลงเป็นอย่างมาก ฉะนั้นโครงสร้างของดนตรีจึงมีหลากหลายแตกต่างกันไป  โดยการพัฒนาหลักการต่างๆ ต่อจากยุคคลาสสิก ลักษณะการประสานเสียงมีการพัฒนาและคิดค้นหลักใหม่ๆ ขึ้นอย่างมากเพื่อเป็นการสื่อสารแสดงออกทางอารมณ์และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลง การใส่เสียงประสานจึงเป็นลักษณะเด่นของเพลงในยุคนี้   บทเพลงมักจะมีความยาวมากขึ้นเนื่องจากมีการขยายรูปแบบของโครงสร้างดนตรี  มีการใส่สีสันของเสียงจากเครื่องดนตรีเป็นสื่อในการแสดงออกทางอารมณ์    วงออร์เคสตร้ามีขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าในยุคคลาสสิค   บทเพลงมีลักษณะต่างๆกันออกไป เพลงซิมโฟนี โซนาตา และเซมเบอร์มิวสิกยังคงเป็นรูปแบบที่นิยม  ในยุคนี้เป็นสมัยชาตินิยมทางดนตรีด้วย คือ กวีจะแสดงออกโดยใช้ทำนองเพลงพื้นเมืองประกอบไว้ในเพลงที่แต่งหรือแต่งให้มีสำเนียงของชาติตัวเองให้มากที่สุด ซึ่งเป็นผลให้คนในชาติเดียวกันเกิดความรักใคร่กลมเกลียวกันและหวงแหนในสิ่งที่อยู่ในแผ่นดินที่ตนอาศัยอยู่ เช่น ซีเบลิอุส แต่งเพลง ฟินแลนเดีย, โชแปง แต่งเพลง มาซูกา เป็นต้น สำหรับจำนวนของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดนั้นก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประพันธ์ แต่ส่วนใหญ่แล้ววงออร์เคสตราในยุคโรแมนติกนี้จะมีผู้เล่นทั้งหมดประมาณ 80 คน โดยเครื่องดนตรีแบ่งเป็นสี่กลุ่มคือ กลุ่มเครื่องสาย กลุ่มเครื่องลมไม้ กลุ่มเครื่องทองเหลือง กลุ่มเครื่องประกอบจังหวะ


ภาพ วงออเคสตราในยุคโรแมนติก


6. ยุคอิมเพรสชั่นนิสติค (Impressionistic Period)
ลักษณะสำคัญของเพลงยุคนี้คือ   ใช้บันไดเสียงแบบเสียงเต็มซึ่งทำให้บทเพลงมีลักษณะลึกลับคลุมเครือไม่กระจ่างชัด  บางครั้งจะมีความรู้สึกโล่งๆว่างๆ  เสียงไม่หนักแน่นเหมือนเพลงในยุคโรแมนติ  สามารถพบการประสานเสียงแปลก ๆได้ในบทเพลงประเภทอิมเพรสชั่นนิซึม   รูปแบบของเพลงมักเป็นบทเพลงสั้นๆ รวมเป็นชุด และในยุคนี้ได้มีการเปลี่ยนบันไดเสียงจากแบบเดียโทนิคซึ่งมี 7 เสียงอย่างเพลงทั่วไป เป็นแบบโฮลโทนสเกล หรือ บันไดที่มี 6 เสียงแทน



ภาพ บันไดเสียงทั้ง 2 แบบ



7. ยุคศตวรรษที่ 20 (Twentieth Century)
ดนตรีในยุคศตวรรษที่ 20 เป็นยุคของการทดลองสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ  และนำเอาหลักการเก่าๆ มากพัฒนาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงให้เข้ากับแนวความคิดในยุคปัจจุบัน   เช่น  หลักการเคาเตอร์พอยต์   (Counterpoint) ของโครงสร้างดนตรีแบบการสอดประสาน   มีการใช้ประสานเสียงโดยการใช้บันไดเสียงต่างๆ รวมกัน  ลักษณะสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การใช้การประสานเสียงที่ฟังระคายหูเป็นพื้น (Dissonance)  วงดนตรีกลับมาเป็นวงเล็กแบบเชมเบอร์มิวสิก    ไม่นิยมวงออร์เคสตรา   มักมีการใช้อิเลกโทรนิกส์ทำให้เกิดเสียงดนตรีซึ่งมีสีสันที่แปลกออกไป  เน้นการใช้จังหวะรูปแบบต่างๆ บางครั้งไม่มีทำนองที่โดดเด่น กล่าวโดยสรุปคือ โครงสร้างของเพลงในศตวรรษที่ 20  นี้มีหลากหลายมาก    สามารถพบสิ่งต่างๆตั้งแต่ยุคต่างๆมาที่ผ่านมา แต่มีแนวคิดใหม่ที่เพิ่มเข้าไป   นักดนตรีที่ควรรู้จักในยุคนี้ คือ สตราวินสกี   โชนเบิร์ก   บาร์ตอก   เบอร์ก   ไอฟส์   คอปแลนด์  ชอสตาโกวิช   โปโกเฟียฟ  ฮินเดมิธ  เคจ  เป็นต้น


ภาพ วงดนตรีแบบแชมเบอร์
(ผู้บรรเลงน้อยคน ตั้งแต่ 2-3 คน หรืออย่างมาก 5-9 คน)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น