ได้มีข้อสันนิษฐานไว้ 2 อย่างเกี่ยวกับต้นกำเนิดของดนตรีไทย คือ
ข้อสันนิษฐานที่ 1
ดนตรีไทยได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เนื่องจากอินเดีย เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณ ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก อารยธรรมต่าง ๆ ของอินเดีย
ได้เข้ามามีอิทธิพล ต่อประเทศต่าง ๆ ในแถบเอเชียอย่างมาก ทั้งในด้าน ศาสนา ประเพณีความเชื่อ ตลอดจน ศิลป แขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะทางด้านดนตรี และเหตุผลสำคัญที่หลายๆท่านได้เสนอทัศนะนี้ก็คือ ลักษณะของ เครื่องดนตรีไทย สามารถจำแนกเป็น 4 ประเภท คือ
- เครื่องดีด
- เครื่องสี
- เครื่องตี
- เครื่องเป่า
- ตะตะ คือ เครื่องดนตรี ประเภทมีสาย
- สุษิระ คือ เครื่องเป่า
- อะวะนัทธะ หรือ อาตตะ คือ เครื่องหุ้มหนัง หรือ กลอง ต่าง ๆ
- ฆะนะ คือ เครื่องตี หรือ เครื่องกระทบ
ภาพ เครื่องดนตรีไทย
การสันนิษฐานตามแนวทัศนะข้อนี้ มีมาแต่เดิมนับตั้งแต่ได้มีผู้สนใจ และ ได้ทำการค้นคว้าหาหลักฐาน และนับว่าเป็นทัศนะที่ได้รับการนำมากล่าวอ้างกันมาก บุคคลสำคัญที่เป็นผู้เสนอแนะแนวทางนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ของไทย
ข้อสันนิษฐานที่ 2
- เกราะ, โกร่ง, กรับ
- ฉาบ, ฉิ่ง
- ปี่, ขลุ่ย
- ฆ้อง, กลอง
วัฒนธรรมแบบอินเดียโดยเฉพาะเครื่องดนตรีอินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทยซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรี
ที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่
- พิณ
- สังข์
- ปี่ไฉน
- บัณเฑาะว์
- กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น
ภาพ วงดนตรีเขมรสมัยก่อน
บางประเทศที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่างของประเทศต่างๆ เหล่านั้นมาใช้เล่นในวงดนตรีไทย ด้วย เช่น กลองแขก ปี่ชวา ของชวา (อินโดนิเซีย) กลองมลายู ของมลายู (มาเลเซีย) เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญของมอญ กลองยาวของพม่า ขิม ม้าล่อของจีน กลองมริกัน (กลองของชาวอเมริกัน) เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลีน ของประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น